Search
Close this search box.

อาจารย์ ดร.ดวงพร แสงทอง กล่าวให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา

แชร์บทความ :

          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา” (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) สร้างต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา เพื่อ “พลิกโฉมคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาครูให้มีศักยภาพสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21” ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ไปสู่การสร้างผู้เรียนให้เป็นนวัตกร อันเป็นกิจกรรมสำคัญในการอบรมครูตามโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning กิจกรรมระยะที่ 2 “การออกแบบการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรมผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps” สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. (1 อําเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

           อาจารย์ ดร.ดวงพร แสงทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กล่าวให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “การอบรมครั้งนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นนอกจากครูที่จะเป็นครูต้นแบบแล้ว นักเรียนก็จะเป็นนวัตกร หมายความว่าผลจากการเรียนรู้ด้วยรูปแบบและกระบวนการจะเกิดกับทั้งผู้เรียนและครู เพราะทุกอย่างเกิดตามกระบวนการ นอกจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังจะได้เห็นการสร้างสรรค์ระหว่างการเรียนรู้ที่แตกต่างจากบทเรียนที่เด็กเคยเรียนมาด้วย”

 “รูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นคือ Active Learning โดยผ่านกระบวนการคิดชั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ซี่งมีกระบวนการเตรียมความพร้อมจากครูที่จะสอนเป็น สอนได้ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และสิ่งที่จะตามมาก็คือ ผู้เรียน นักเรียนจะได้กระบวนการคิดที่มีความแตกต่างออกไป ซึ่งสิ่งที่แตกต่างออกไป คือ เดิมเคยอยู่ในห้องเรียนก็คิดจากในกรอบ วิธีการนี้จะเป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งมีขั้นมีตอนที่เด็กสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้ได้ และสุดท้ายเด็กจะได้กระบวนการ ได้ขั้นตอน และผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้มาก็คือ นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยแต่ละชิ้นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้”

           และในครั้งนี้ยังมีการกล่าวให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และดร.ศักดิ์สิน โรจนสราญรมย์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ในการดำเนินโครงการดังกล่าวด้วย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทความที่เกี่ยวข้อง :